ค่าเฉลี่ย (average)
เริ่มต้นด้วยการคำนวณสถิติที่น่าจะคุ้นเคยกันดี คือ "ค่าเฉลี่ย" เรื่องนี้น่าจะเข้าใจง่ายสุด (เลยยังไม่ได้คืนครู) มันคือการคำนวณโดยเอาตัวเลขของข้อมูลมาบวกกันทุกตัวแล้วหารด้วยจำนวนข้อมูล ขอแนบสมการให้ดูเท่ๆ กันหน่อย
สมการสำหรับหาค่าเฉลี่ย |
หาค่าเฉลี่ยของกลุ่มข้อมูลที่สนใจด้วยฟังก์ชั่น AVERAGE |
การกระจายตัวของข้อมูล
ในชีวิตจริงเราจะพบข้อมูลที่ได้มักจะมีการกระจายตัวที่ไม่เท่ากันหรือไม่ใกล้เคียงกันเสมอไป จากตัวอย่างที่แล้ว ถ้าเกิดพายุเข้าอากาศแปรปวน จะเกิดอะไรขึ้นมาลองดูกราฟกัน
เปรียบเทียบอากาศปกติ และ แปรปรวน |
ข้อมูลในชิวิตจริงแค่นี้มันจิบ ๆ แบบนี้ดูไม่ออกแน่ว่ามันแปรปรวนหรือเปล่า |
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation หรือ SD)
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน หรือ SD คิดค้นโดย ฟรานซิส กาลตัน (Francis Galton) ในช่วงปลายคริสต์ทศวรรษ 1860 จุดประสงค์ของการคำนวณค่าเบียงเบนมาตรฐานก็คือหาค่าการกระจายตัวของข้อมูลที่ออกหากจากค่าเฉลี่ยกลางของข้อมูล ค่ายิ่งมากแสดงว่ามีการแปรปรวนหรือการกระจายของข้อมูลสูง เพื่อให้เข้าใจยิ่งขึ้นเรามาลองดูภาพกัน
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) คือ คือเอาระยะเส้นสีเหลืองมารวมกันหาค่าเฉลี่ย |
สมการสำหรับหาค่า SD |
ในฟาร์มไก่ไข่ มีไก่อยู่ 1,000 ตัว โดยแบ่งอยู่ในโรงเลี้ยงจำนวน 4 โรง โดยค่าเฉลี่ยที่ควรจะเป็นไก่จะออกไข่ประมาณ 80% (มีพัก 20%) ฟาร์มไก่มีแรงงานคนจำกัดไม่สามารถนับไข่ที่ออกจากแม่ไก่แบบตัวต่อตัวได้
เมื่อเลี้ยงไก่เพื่อขายไข่ หากไก่กินอาหารแต่ออกไข่น้อยกว่าที่ควรจะเป็นก็จะขาดทุน ดังนั้นเราต้องหาให้ได้ว่ามีไก่ตัวไหนอู้ กินแล้วไม่ไข่บ้างหรือเปล่า
รายงานไข่ที่เก็บได้ใน 1 เดือน จำนวน 30 วัน |
- ค่าเฉลี่ย (AVERAGE) โรงที่ 1 2 และ 4 ออกไข่เฉลี่ยต่ำกว่า 80%
- โรง 2 มีปัญหาเยอะสุด ค่าเฉลี่ยต่ำ แถมมีไก่อู้เยอะสุด
- ค่าเฉลี่ยโรง 1 และ 4 แม้จะมีค่าเฉลี่ยใกล้เคียงกัน แต่ค่า SD ต่างกันมาก
แสดงว่าในโรง 1 ไก่ออกไข่สม่ำเสมอกว่าโรง 4 (โรง 4 น่าจะมีไก่อู้มากกว่า)
เพื่อให้เห็นภาพลองมาดูกราฟของโรง 1 และ 4 กัน
เปรียบเทียบจำนวนไข่ที่เก็บได้ในแต่ละวันของโรง 1 และ 4 |
ตัวอย่างการวิเคราะห์ ผลการทำข้อสอบ
อาจารย์วิชาภาษาอังกฤษได้ทดสอบเด็ก 2 ห้อง เพื่อวัดผล ปรากฎว่าค่าเฉลี่ยที่ได้ 2 ห้องใกล้เคียงกัน แต่ค่า SD ต่างกัน
ผลการทดสอบของเด็กทั้ง 10 คน |
ปล.ทุกวันนี้ลองกลับไปดูแบบเรียนสถิติก็ยังเหมือนเดิม สอนแบบเดิม ๆ ถ้าเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมกับโลกแห่งความเป็นจริงได้จะดีมากครับ ไม่มีใครมานั่งบวกเลขหารเลขตามสมการกันหรอก เพราะชีวิตจริงมันมีข้อมูลเป็นหลักพันหลักหมื่น น่าจะสอนวิเคราะห์และใช้เครื่องมือให้เก่ง ๆ น่าจะเข้าท่าและมีประสิทธิภาพมากกว่าด้วย (บ่นไปงั้นแหละ งึมๆ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น